วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

โปเจคเตอร์

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์ เบนคิว รุ่น MS 500*.ใหม่
โปรเจคเตอร์ (Projector) คือ… อุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์, เครื่องเล่นวีซีดี,เครื่องเล่นดีวีดี, และเครื่องกำเนิดภาพอื่นๆ โดยมีระดับราคาที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ ระดับประมาณ 50,000 - 300,000 บาทขึ้นอยู่กับความละเอียดและความสว่างของเครื่องซึ่งปัจจุบันนี้โปรเจคเตอร์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในหน่วยงานราชการ, สถานศึกษา,สำนักงานหรือบริษัทเอกชนรวมไปถึงการใช้งานเพื่อการตอบสนองความต้องการในด้าน Home Entertainment โดยใช้เชื่อมต่อเป็น Home Theater เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสสำหรับความบันเทิงในบ้าน
เทคโนโลยีที่นิยมใช้กันอย่างโดดเด่นมากสำหรับโปรเจคเตอร์ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้แก่… ระบบการแสดงภาพผ่าน LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งประสบความสำเร็จเหนือระบบ CRT ที่ยิงลำแสง 3 สี 3 ช่องทาง (RGB) ในเรื่องของขนาดที่สามารถทำให้เล็กกว่าจนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก ในขณะที่ระบบเดิมอย่าง CRT ยังคงหลักปักฐานกับระบบใหญ่ๆ ที่อิงความละเอียดสูงๆ ขนาด 1280 x 1024 พิกเซล และมีเอาต์พุตสว่างกว่า 2,000 Lumens ในขณะที่เทคโนโลยี LCD ขณะนี้สามารถทำได้เพียง 1,200 Lumens แต่ก็เพียงพอสำหรับการเป็นที่หนึ่งในตลาดโปรเจคเตอร์ขนาดกลางและเล็ก
ไม่มีใครเป็นแชมป์ตลอดกาล ณ วันนี้เทคโนโลยี LCD ถูกสั่นคลอนด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีชื่อว่า DLP (Digital Light Processing) ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันในท้องตลาด ซึ่งความจริงแล้วเทคโนโลยีดังกล่าวเป็นผลงานชิ้นโบแดงของบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชื่อดังอย่าง Texas Instrument โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Digital Micro-Mirror Device หรือ DMD ซึ่งสามารถช่วยลดขนาดของโปรเจคเตอร์ลงไปได้ ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตเราน่าจะได้เห็นโปรเจคเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงไปกว่านี้ด้วยเทคโนโลยี DLP


ปัจจุบันสามารถแบ่งโปรเจคเตอร์ออกเป็น 2 แบบตามระบบการแสดงภาพ คือ…
1. แบบ LCD (Liquid Crystal Display)
2. แบบ DLP (Digital Light Processing)
1. เทคโนโลยีแบบ LCD (Liquid Crystal Display) แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ…
1.1) Single LCD เป็นระบบที่ใช้กันมานานแล้วหลักการทำงานก็คือใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่มีความสว่างส่องผ่านฟิลเตอร์ LCD ทั้งที่เป็นแบบ Passive หรือ ActiveTFT จำนวน 1 จอภาพซึ่งแสดงสัญญาณที่ได้รับจากแหล่งกำเนิดไม่ว่าจะเป็นสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอ จากนั้นก็ให้ส่องผ่านไปยังเลนส์ขยายไปยังจอภาพ (หลักการทำงานจะคล้ายกับ LCD panel เพียงแต่ภาพที่ได้จะชัดเจนกว่า)
ข้อดีของระบบนี้คงเป็นเรื่องของราคาที่ค่อนข้างถูก แต่ก็ยังพบปัญหาเรื่องของแสงที่ดรอปลงไปจากการปิดกั้นของ LCD ค่อนข้างมาก และก็ยังมีปัญหาเรื่องของความร้อนสะสมอยู่บ้าง แต่หลายรุ่นก็ได้พัฒนาระบบระบายความร้อนจนสามารถใช้งานได้ทนทานและยาวนานขึ้น
1.2) PolySi เป็นเทคโนโลยีใหม่ของระบบ LCD ซึ่งมีหลักการทำงานที่ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าแบบ Single LCD กล่าวคือแต่เดิมที่เคยใช้ฟิลเตอร์ LCD เพียงชุดเดียวแสดงสีครบทั้งหมดก็เกิดปัญหาเรื่องของแสงดรอปมาก ดังนั้นวิธีนี้จึงแยกฟิลเตอร์ LCD ที่อาจเป็น Active หรือ Passive TFT ออกเป็น 3 ชุด แต่ละชุดก็จะแปลงสัญญาณสี 3 สี (RGB) แยกออกแต่ละสีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน แสงจากหลอดไฟจะส่องผ่านไปยังกระจกสะท้อนกลับมารวมเป็นภาพที่มีสีสันสวยงามครบถ้วน และส่งผ่านเลนส์และส่งไปยังจอภาพ
ข้อดีของระบบนี้คือ แสงที่ส่งออกมาจากหลอดไฟจะถูกดรอปลงน้อยกว่าระบบ Single LCD (แต่ก็ยังถูกดรอปลงไปบ้าง) ทำให้ภาพที่ออกมามีความสว่างและคมชัดมากกว่า และเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเดิมที่นำมาปรับใช้ให้ดีขึ้น ผู้ผลิตแต่ละรายจึงเพิ่มเติมลูกเล่นและความสามารถอื่นๆ ลงไปได้อีก
2. เทคโนโลยีแบบ DLP (Digital Light Processing)
เทคโนโลยีล่าสุดซึ่งเกิดจากการคิดค้นและพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์พิเศษจากบริษัท TI หรือ Texas Instrument ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก โดยได้พัฒนาระบบชิพพิเศษที่ใช้สำหรับโปรเจคเตอร์โดยเฉพาะ ชื่อว่า DMD: Digital Micro-Mirror Device ซึ่งมีหลักการทำงานคือ… การใช้ชิพขนาดเล็กที่ภายในมีส่วนประกอบเป็นกระจกขนาดเล็กมากจำนวนมากมายมหาศาล (480,000 ชิ้นสำหรับความละเอียด 800 x 600 พิกเซล) ความกว้างประมาณ 7 ไมครอน ช่องว่างประมาณ 1 ไมครอน ซึ่งกระจกแต่ละชิ้นจะแทนแต่ละพิกเซลที่เป็นส่วนประกอบของภาพที่ส่งออกไป โดยมีความพิเศษตรงที่จะมีมอเตอร์ขนาดเล็กประจำอยู่ที่กระจกแต่ละชิ้น และเมื่อได้รับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ ชิพตัวนี้จะสั่งให้กระจกขยับบิดเอียงเป็นมุมเปิดและปิดแยกกันแต่ละตัวโดยอิสระ ในขณะเดียวกัน ในระบบก็จะมีหลอดไฟที่มีความสว่างสูง ส่องแสงผ่านฟิลเตอร์ทรงกลมที่มีสี 3 สี ได้แก่ เขียว แดง และน้ำเงิน ซึ่งฟิลเตอร์ทรงกลมนี้จะหมุนด้วยความเร็วสูง เพื่อสลับแสงทั้ง 3 สีไปยังชิพ DMD ที่กำลังทำงานอยู่อย่างรวดเร็ว โดยเมื่อแสงแต่ละสีส่งมาแล้วก็ถึงคิวชิพที่จะสั่งให้กระจกแต่ละชิ้นบิดมุมเพื่อเปิดหรือปิดรับแสงสีอะไร จากนั้นแสงที่สะท้อนออกมาจากกระจกก็จะถูกรวมเป็นภาพเพื่อส่งผ่านเลนส์ไปยังจอภาพ
และสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นอย่างมากก็คือ การใช้กระจกสะท้อนแสงซึ่งมีอัตราการดรอปลงของแสงต่ำมาก แสงที่ส่งออกมาไม่ได้ถูกลดทอนลงไป ระบบนี้จึงคมชัดมาก ในขณะที่มีความร้อนสะสมน้อย เพราะไม่สะสมเหมือน LCD ฟิลเตอร์ แถมในเรื่องของขนาดก็สามารถปรับให้เล็กลงได้อีกเรื่อยๆ จึงเป็นระบบที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ
DLP (Digital Light Processing)
LCD (Liquid Crystal Display)
เทคโนโลยีในการให้ภาพDLP ใช้การสร้างภาพด้วยชิพเพียงชิ้นเดียวที่เรียกว่า
DMD Chip ซึ่งภายในจะประกอบด้วยกระจกขนาดเล็กๆ
จำนวนมาก แต่ละชิ้นของกระจกจะแทนจุดแสงใน
แต่ละพิกเซลเมื่อมีแสงจากหลอดไฟมาตกกระทบกระจกนั้น จะเอียงรับแสงและสะท้อนทำให้เกิดภาพที่จอภาพ
LCD ใช้ของเหลวในการกำเนิดแสง เมื่อแสงส่องผ่าน
กระจกสะท้อนกรองสีซึ่งทำหน้าที่แยกแสง ออกเป็น 3 แม่สี (RGB)
เพื่อผ่านแสงไปยัง LCD Panel แต่ละชุด โดยจะประกอบด้วยจำนวน แผงพิกเซลเล็กๆ มากมาย แต่ละพิกเซลอาศัยการควบคุม จากสัญญาณภาพวีดีโอภายนอกในการเปิดหรือปิดพิกเซล
ความสว่าง (Brightness)
DLP สามารถให้ความสว่างที่สูงกว่าในขณะที่ขนาด
เครื่องเล็กและน้ำหนักเบา และความสามารถในการเกลี่ยแสง (Uniformity) ยังเหนือกว่า LCD
LCD สามารถให้ความสว่างได้สูงตั้งแต่ 1000-5000 ANSI ขึ้นไป
แต่ขนาดเครื่องก็จะมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย และความสามารถ
ในการเกลี่ยแสง (Uniformity) สามารถเกลี่ยแสงได้ไม่ดีเท่ากับ DLP
ความสามารถในการแสดง ค่าความต่างสี (Contrast Ratio)
DLP มีการให้ค่าความต่างสี (Contrast Ratio) และ
การไล่ระดับ Gray Scale ที่ให้คุณภาพดีกว่า เนื่องจาก
DLP มีประสิทธิภาพในการให้ค่าความต่างสีที่สูง
เพราะมีค่า Black Level ที่ดีกว่า LCD
LCD ให้ค่าความต่างสี (Contrast Ratio) ยังอยู่ในระดับไม่สูงมากนัก การไล่ระดับ Gray Scale ยังทำได้ไม่เด่นชัดนัก โดยเฉพาะภาพที่มี ความสว่างที่ต่ำ และการแสดง Black Level หรือสีดำยังแสดงได้ไม่ดี
การรับสัญญาณภาพ
DLP เป็นระบบ Digital จึงทำให้การรองรับสัญญาณภาพ
ที่เป็นระบบ Digital เช่น… สัญญาณภาพจาก DVD,
DVI (Digital Visual Interface) จากคอมพิวเตอร์ และ
สื่อดิจิตอลอื่นๆ สามารถรองรับได้ดีกว่า LCD เนื่องจาก
เป็นระบบดิจิตอลเหมือนกัน
การรองรับสัญญาณภาพระบบ Digital สามารถรองรับได้แต่
่ไม่ดีเท่า DLP เนื่องจาก LCD ไม่ใช่ระบบ Digital
ขนาดและน้ำหนัก
DLP ใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพโดยใช้ชิพเพียงชิ้นเดียว
จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบากว่า
LCD ต้องใช้พื้นในการแสดงภาพมากจึงทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่
และมีน้ำหนักมากกว่า DLP
การดูแลรักษาเครื่องและ
อายุการใช้งาน
การดูแลรักษาเครื่อง DLP ไม่ค่อยยุ่งยากเพราะ DLP
จะทนกับความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตัวเครื่องและ
ฝุ่นไม่สามารถเข้าไปในส่วนของชิพได้ อายุในการใช้งาน
มีความคงทนมากกว่า LCDเพราะอายุการใช้งานของชิพ
ทนทานกว่า และจะไม่เกิดปัญหาจุดดำบนจอภาพและ
สีผิดเพี้ยน แม้จะใช้ไป 2-3 ปี
การดูแลรักษาเครื่อง LCD ต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษเพราะ
เนื่องจาก LCD ใช้ของเหลวในการสร้างภาพและจะมีปัญหาด้านความร้อน และฝุ่น ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานของชิพสั้นลงในการดูแลรักษาจึงต้องพยายามให้ความร้อนเกิดขึ้นในเครื่องน้อยที่สุดหรือไม่เกิด การสะสมความร้อน จึงมีความยุ่งยากมากกว่า DLP
คุณภาพของภาพโดยรวม
DLP สามารถแสดงภาพได้ละเอียดมากกว่า LCD เนื่องจาก
แต่ละพิกเซลที่เรียงกันมีความชิดกันมากกว่า ทำให้ภาพที่ออกว่ามีความนุ่มนวลมากกว่า LCD การแสดงสีสามารถแสดงสีได้ละเอียด มากว่า LCD เนื่องจากสามารถแสดงค่า Contrast Ratioได้สูงกว่าภาพโดยรวมให้ภาพที่เหมือนจริง นุ่มนวลและสบายตา
การแสดงภาพของ LCD จุดเด่นคือ สามารถให้ความอิ่มของสีต่างๆ
ได้ดีกว่า หรือให้สีที่สดกว่า DLP จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในห้องที่มีขนาดใหญ่
Projector
          โดยภาระกิจหลักของการเป็นวิทยากร และอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ผ่านมาผมเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาการนำสัญญาณภาพจากหน้าจอ iPad ออกไปแสดงผลที่จอ TV หรือ จอ Projector ซึ่งก่อนหน้านั้นอาจทำได้อยู่บ้างโดยใช้ apps. บางตัวช่วย เช่น หากต้องการนำภาพอินเทอร์เน็ตออกไปที่ Projector ผมก็จะใช้ App. WebProjector เป็นตัวช่วย  และหากต้องการนำเสนอไฟล์ Powerpoint ก็จะใช้ Keynote เป็นตัวช่วย แต่ทั้งนี้ผมจะไม่สามารถนำภาพทั้งหมด เช่น Applications ต่างๆ ที่มีอยู่ออกไปแสดงที่หน้าจอได้


โสตทัศนูปกรณ์ (Audio Visual Equipment) 
สื่อประเภทโสตทัศนอุปกรณ์ (Audio Visual  Equipment)  สามารถแบ่งตามลักษณะการสื่อสารเป็น 3 จำพวก ได้แก่
1.         เครื่องฉาย (Visual Projector Equipment)
2.         เครื่องเสียง (Audio Equipment)
3.         สื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ ประเภทอื่น  ที่มีราคาค่อนข้างแพง
คุณค่าและประโยชน์ของโสตทัศนอุปกรณ์
            โสตทัศนอุปกรณ์เป็นส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องการจัดนิทรรศการอย่างไร คำถามนี้เมื่อใช้ความรู้ด้านการสื่อสารมาอธิบายจะพบว่าโสตทัศนอุปกรณ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสาร โดยเฉพาะเมื่อเป็นการสื่อสารที่จำแนกตามจำนวนผู้รับสาร แต่อย่างไรก็ตามในการนำเสนอในกลุ่มใหญ่ ปกติที่มีจำนวนเข้ารับฟังการนำเสนอ หรือผู้ชมประมาณ 30-40 คน ผู้นำเสนออาจไม่ใช้โสตทัศนอุปกรณ์ช่วยการนำเสนอก็สามารถสื่อสารกับผู้ฟังได้เช่นกัน หรืออาจจัดเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่หากว่ามีการนำโสตทัศนอุปกรณ์มาใช้ร่วมแล้วย่อมส่งผลดีต่อการนำเสนอหรือการสอนนั้น เช่น ผู้ชมรับฟังเข้าใจได้ตรงกันในเวลาอันรวดเร็ว    ผู้ชมได้ยินเสียงอย่างชัดเจนทั่วถึง เป็นต้น ดังนั้นโสตทัศอุปกรณ์ จึงมีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่งต่อการนำเสนอ
            1.เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร
            2. สร้างความสนใจและช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้ชม
            3.ส่งเสริมลักษณะการเรียนรู้และความเข้าใจ
            4.ช่วยเพิ่มช่องทางในการรับส่งข้อมูล
            5.เอาชนะข้อจำกัดบางประการของข้อมูลในการนำเสนอ
หลักและวิธีการใช้โสตทัศนอุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ  สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้งานที่เกิดขึ้นได้รับผลตามความมุ่งหมาย และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ คือ
1. ผู้ใช้รู้และเข้าใจการใช้งานอย่างถูกวิธี และถูกขั้นตอน
2. ผู้ใช้เข้าใจคุณค่า คุณลักษณะ และประโยชน์ในการใช้ของเครื่องมืออุปกรณ์นั้นอย่างแท้จริง
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ใช้โสตทัศนอุปกรณ์ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมาทั้ง 2 ข้อ ผลที่จะเกิดตามมาก็คือ การพัฒนาการใช้ที่หลากหลายรูปแบบ หลากหลายวิธีการ ที่แปลก หรือซับซ้อนมากขึ้น กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า เทคนิคการใช้นั้นเอง
3.1 เครื่องฉาย (Visual Equipment System)
เครื่องฉายเป็นสื่อประเภทอุปกรณ์ที่มีบทบาทต่อการจัดนิทรรศการเป็นอย่างมาก มีคุณสมบัติ และลักษณะที่จะต้องอาศัยวัสดุฉายประกอบร่วมด้วย สามารถใช้กับผู้ชมจำนวนมาก และสามารถใช้ร่วมกับสื่อประเภทอื่น ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตสื่อ
การฉายภาพด้วยเครื่องฉายเป็นกระบวนการเกิดภาพบนจอภาพ และมุ่งเน้นที่จะให้ภาพที่ปรากฏมีขนาดใหญ่ ชัดเจน และต้องไม่ผิดเพี้ยน ดังนั้นการฉายภาพจึงต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ 3 สิ่ง จึงจะเกิดการฉายที่สมบูรณ์ คือ
1.      เครื่องฉาย(Projector)
2.      สิ่งที่จะนำมาฉาย หรือวัสดุฉาย (Material)
3.      จอรับภาพ (Screen)
การกำหนดและติดตั้งจอภาพ (Screen Setting)
ก่อนการติดตั้งจอภาพผู้ติดตั้ง จำเป็นจะต้องพิจารณาตำแหน่งของจอภาพ นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการรับชมแก่ผู้ชม แล้ว ยังเป็นส่งผลต่อคุณภาพของภาพ ด้านความสว่าง  ความคมชัด และความถูกต้องของภาพที่ปรากฏ โดยต้องคำนึงต่อองค์ประกอบต่อไปนี้
1.      ขนาดพื้นที่
2.      จำนวนผู้ชมและตำแหน่งเก้าอี้ โต๊ะ หรือบริเวณของการยืนรับชม
3.      แสงสว่างภายในห้อง
4.      ตำแหน่งของเครื่องฉาย

การติดตั้งจอภาพสามารถกระทำได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและส่วนประกอบของจอภาพนั้นๆ เราจะพบเห็นการติดตั้งจอภาพโดยทั่วไปใน 3 ลักษณะ คือ
1.แบบสามขา หรือขาตั้ง (Tripod or Portable)  การติดตั้งลักษณะนี้ เป็นการติดตั้งที่กำหนดโดยลักษณะของจอที่ผลิตเป็นแบบเคลื่อนย้าย คือจอภาพมีขาตั้งติดมาด้วย หรือ เนื่องด้วยเป็นการติดตั้งชั่วคราว ที่สามารถแยกส่วนจอและขาตั้งจากกันได้
2. แบบยึดติดผนัง (Spring loaded wall screen) กรณีนี้มักติดตั้งเป็นการถาวร อาจจะใช้วิธีดึงจอขึ้น หรือลงก็ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของจอของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันมีระบบควบคุมการเก็บและใช้สะดวกมากขึ้น จอแบบนี้เวลาดึงออกมาใช้จะตั้งฉากกับพื้น
3.         แบบยึดติดฝ้าเพดาน คล้ายกับแบบติดผนังแต่สามารถปรับมุมในการรับภาพของจอภาพ เพื่อแก้ปัญหาการผิดเพี้ยนของภาพ ที่เรียกว่า Keystone effect
เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector)
                  เครื่องฉายสไลด์มีหลักการเกิดภาพคล้ายกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ แต่วัสดุที่นำมาใช้เป็นฟิล์มสไลด์ที่ได้จาการถ่ายรูป หรือพิมพ์ด้วยวิธีการอื่น เช่น  จากเครื่องสร้างภาพสไลด์จากคอมพิวเตอร์ สไลด์เหมาะแก่การใช้กับการนำเสนอกลุ่มใหญ่เช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์ที่ใช้ในการนำเสนอมีอยู่  2  แบบ โดยแบ่งตามความสามารถในการควบคุมเครื่อง คือ
1. เครื่องฉายสไลด์แบบ Manual แบบนี้การเปลี่ยนภาพแต่ละภาพใช้การควบคุมที่ตัวเครื่อง หรือผ่านตัวควบคุมระยะไกล (Remote control) การใช้จึงจำเป็นต้องมีคนช่วย หรือต้องควบคุมด้วยผู้นำเสนอเอง นิยมใช้ในการนำเสนอแบบประกอบการบรรยาย เพราะสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการในทันทีทันใด
2.  เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic เครื่องฉายสไลด์แบบ Automatic หรืออาจเรียกได้ว่าแบบ Programmable เป็นเครื่องฉายที่มีการควบคุมการเปลี่ยนภาพจากอุปกรณ์เสริม เช่น เครื่องควบคุมแบบเทปบันทึกเสียง อาศัยการบันทึกสัญญาณควบคุมลงในเทปเสียง เมื่อเล่นกลับสัญญานควบคุมที่บันทึกไว้จะถูกส่งไปควบคุมเครื่องฉายสไลด์ให้เปลี่ยนภาพตามเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นเวลาที่เทปเดินนั้นเอง ตรงนี้นอกจากจะบันทึกสัญญาณควบคุมแล้ว ยังสามารถบันทึกสัญญาณเสียงลงไปในเทปได้ด้วย ในลักษณะนี้เราจะรู้จักกันทั่วไปว่า เป็นสไลด์ประกอบคำบรรยาย  สไลด์ประกอบคำบรรยายนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ 2 เครื่องเป็นต้นไป สามารถสร้างเทคนิคพิเศษในการเปลี่ยนภาพ เช่นการ เฟด การจางเข้าออก การซ้อนภาพ และถ้ามีจำนวนเครื่องฉายตั้งแต่ 4 เครื่องขึ้นไปจะสามารถทำเทคนิคการนำเสนอได้หลากหลายมาขึ้น และเรียกการนำเสนอนั้นว่า สไลด์มัลติวิชั่น
      สไลด์กล่าวได้ว่ามีคุณค่าและประโยชน์ไม่แพ้เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ มีคุณค่าและประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย คือ
1. สามารถยืดหยุ่นในการนำสื่อไปจัดใช้
2. สามารถใช้ในนำเสนอได้ทั้งแบบรายบุคคล กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่
3. สามารถโปรแกรมได้ ร่วมกับเทปเสียง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เครื่องฉายสไลด์ในเนื้อหาต่างๆ
·         ด้านศิลปะ ใช้สไลด์แสดงภาพผลงานจิตรกร
·         ประวัติศาสตร์      ใช้สไลด์แสดงภาพสถานที่  รายละเอียดต่างๆ คล้ายการไปทัวร์
·         ชีววิทยา     ใช้สไลด์นำเสนอภาพถ่ายใกล้มากๆ หรืออธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน

เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์( Computer Image Projector )
                  เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์เป็นโสตทัศนอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นแม้จะมีราคาสูงแต่ประสิทธิภาพ และการใช้งานนั้นค่อนข้างสูง เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีให้เห็นกันอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เรียกว่า LCD panel ชนิดนี้เวลาใช้นอกจาจะต้องต่อกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดข้อมูลต่างๆ แล้ว ต้องอาศัยเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะเป็นตัวส่งผ่านไปยังจอรับภาพ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นแบบ desktop projector ชนิดนี้เป็นชนิดที่รวมเครื่องฉายไว้ในตัวเวลาใช้เพียงแต่ต่อสายสัญญานภาพจากคอมพิวเตอร์ก็สามารถฉายขึ้นจอภาพในทันที ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะออกแบบให้สามารถใช้ได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเทปวิดีทัศน์ กล้องโทรทัศน์ หรือเครื่องจับภาพ 3 มิติ ที่เรียกกันว่า Visual presenter หรือ Video Imager
      คุณค่าและประโยชน์ของเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ และสไลด์ แต่สำหรับเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้น คุณค่าและประโยชน์จะเน้นไปในการช่วยแก้ปัญหาในการนำเสนอข้อมูลที่ ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่สามารถให้เห็นได้พร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง ดังนั้นจะเห็นว่าเงื่อนไขที่น่าจะเป็นข้อตัดสินใจว่าควรใช้เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์หรือไม่น่าจะมีสาเหตุมาจากข้อมูลในการนำเสนอด้วยเช่นกัน ถ้าข้อมูลอยู่ในคอมพิวเตอร์ ข้อมูลนั้นจำต้องแสดงผ่านคอมพิวเตอร์เท่านั้น หรือเป็นการนำเสนอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เป็นต้น อย่างไรก็ตามมิได้เป็นข้อจำกัดถ้าไม่ใช่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอ